วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การดูแลผึ้งโพรง

                                                       การดูแลผึ้งโพรง
การเกษตรเรื่องการเลี้ยงดูผึ้งโพรง
การจัดการดูแลถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงผึ้งเพราะเกษตรกรต้องทำความเข้าใจนิสัยใจคอและพฤติกรรมของผึ้ง และปฎิบัติต่อผึ้งอย่างถูกวิธีซึ่งการจัดการดูแลผึ้งโพรงก็มีวิธีดังต่อไปนี้

  • การเลือกทำเลสำหรับตั้งรังผึ้ง เกษตรกรควรทำการแยกตัวรับผึ้งเป็นกลุ่ม ๆ ละประมาณ 30-50 รัง การตั้งรังผึ้งควรอยู่ห่างจากที่อยู่อาศัยไกลบ้านเรือนเพื่อป้องกันอันตรายและต้องเป็นพื้นที่ร่มเย็นชุ่มชื้นใกล้แหล่งน้ำและแหล่งอาหาร เช่น สวนดอกไม้ สวนผลไม้ หรือตามป่าที่มีดอกไม้ต้นไม้ที่มีน้ำหวานขึ้นมาก ข้อควรระวังคือ การตั้งรังผึ้งต้องไม่ตั้งในที่ ๆ มีลมโกรก บริเวณที่แห้งแล้ง และบริเวณที่มีแสงไฟ เพราะจะทำให้ผึ้งออกมาเล่นไฟและตายในที่สุด
  • แหล่งอาหารผึ้ง คือ เกสรดอกไม้ และน้ำหวาน นอกจาก 2 อย่างนี้แล้วเกษตรกรควรหาน้ำสะอาดไว้ให้ผึ้งกินด้วย เพราะผึ้งจะนำน้ำไปเจือจากน้ำผึ้งสำหรับเลี้ยงตัวอ่อนและยังช่วยในการละลายความร้อนในรังผึ้ง อีกทั้งยังช่วยรักษาความสมดุลและความชื้นภายในรวงรังในการช่วยให้ไข่ฟักออกเป็นตัวหนอน (ในกรณีที่สถานที่เลี้ยงไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ) ข้อควรระวังคือ ในช่วงฤดูร้อนเกษตรกรจะต้องหมั่นดูแลน้ำผึ้งอย่าให้แห้ง
  • การให้น้ำหวานผึ้ง หากเกษตรกรนำผึ้งจากสถานที่อื่นมาเลี้ยง หากสถานที่นั้นเคยมีการเลี้ยงผึ้งอยู่บ้างแล้ว เกษตรกรควรนำหีบผึ้งใหม่ไปวางให้ห่างจากหีบเลี้ยงที่อยู่เดิม ระยะแรกของการเลี้ยงเกษตรกรควรนำน้ำเชื่อมให้ผึ้งกิน โดยให้เกษตรกรสังเกตดูที่รวงผึ้งว่ามีปริมาณน้ำผึ้งมากน้อยเพียงใด หากแหล่งอาหารทางธรรมชาติไม่เพียงพอ ถ้าคอนด้านบนส่วนที่เป็นน้ำผึ้งไม่มีน้ำหวานหรือมีน้ำหวานน้อยให้เกษตรกรทำการเติมน้ำหวานลงไปในรวงผึ้ง โดยให้มีอัตราส่วนประมาณ น้ำหวานต่อน้ำสะอาด (1:1) น้ำทั้งสองอย่าผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปต้มให้เดือดพักไว้ให้เย็นสนิท จากนั้นนำน้ำหวานที่ได้ใส่ลงในถ้วยพลาสติกแล้วนำจานที่มีขนาดใหญ่กว่าปิดถ้วยแล้วนำถ้วนคว่ำลงน้ำหวานจะค่อย ๆ ซึงออกมา จากนั้นให้เกษตรกรนำไปวางไว้ในหีบที่เลี้ยงผึ้ง
  • การตรวจดูภายในรังผึ้ง เกษตรกรควรทำการตรวจดูรังผึ้งในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น ทุก ๆ 7-10 วันต่อครั้ง โดยทำการตรวจดูความสมบูรณ์แข็งแรงของผึ้ง ทำความสะอาดหน้ารังผึ้งไม่ให้มีฝุ่นหรือเศษขยะและตรวจดูแมลง จำพวก มด คางคก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น