วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเลี้ยงผึ้งพันธุ์

                                                                  การเลี้ยงผึ้งพันธุ์
        การเลี้ยงผึ้งสำหรับผู้ที่ต้องการเลี้ยงผึ้งรายใหม่  หรือมีแนวคิดที่จะเลี้ยงผึ้งพันธุ์ตั้งแต่ 2-5 รังขึ้นไป  เพราะการเลี้ยงที่เริ่มจากรังเดียวจะมีข้อเสี่ยงอยู่หลายประการ  ในบางครั้งที่เกิดกรณีนางพญาผึ้งหายหรือตายจากรังไปแล้ว  หานางพญาใหม่ที่ผสมหรือวางไข่แล้วมาชดเชยไม่ทัน  จะก่อให้เกิดความยุ่งยากและสูญเสียขึ้นได้  ทำให้ผู้เลี้ยงเกิดความท้อใจ  สูญเสียกำลังใจในการดำเนินการ  นอกจากนั้นในกรณีที่ต้องการขยายหรือเพิ่มจำนวนรังก็จะทำได้ล่าช้า  ถ้ามีผึ้ง 2-5 รัง  หากเกิดปัญหารังใดรังหนึ่งสูญเสียนางพญาไป  เราก็สามารถเอาไปรวมกับรังอื่นที่เหลือได้
                สิ่งที่ต้องเตรียมในการเลี้ยงผึ้ง(1)    สถานที่  ที่จะวางรังผึ้ง  ควรจะอยู่ในที่ที่ร่มรื่นแสงไม่ทึบเกินไปนัก  แสงสว่างสาดส่องรำไร  ลมไม่พัดแรง (ไม่อยู่ในทางลม)  มีอาหารของผึ้งอยู่ใกล้ๆบริเวณนั้น (อาจเป็นต้นมะพร้าวที่ออกจั่นแล้ว  ถ้าเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้ลำธารมีแหล่งน้ำใสไหลเย็นก็ยิ่งดี)  ตั้งอยู่ในสถานที่ที่ผู้เลี้ยงมีเวลาที่จะไปดูแลได้โดยสะดวกในที่ที่ไม่มีอะไรมารบกวนผึ้งมากนัก  บริเวณที่ตั้งรังควรเป็นบริเวณที่มีแสงแดดอ่อนในตอนเช้าส่องเข้ามาถึงทางด้านหน้ารัง (ถ้าสามารถเลือกทิศทางได้)  หน้ารังควรจะหันไปทางทิศตะวันออก  และไม่ใกล้กับบริเวณที่ที่มีไฟฟ้าหรือแสงไฟที่ต้องจุดไว้ในเวลากลางคืนตลอดคืน  เพราะถ้าผึ้งเห็นแสงไฟ  โดยเฉพาะแสงไฟนีออนสีฟ้าแล้ว  ผึ้งจะชอบมาเล่นไฟในตอนกลางคืนทำให้เสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์  ผึ้งไม่มีเวลาพักทำให้อายุของผึ้งงานสั้นลง  เมื่อเลือกสถานที่หรือทำเลได้แล้ว  ให้เตรียมขาตั้งรังผึ้งไปปักหรือตั้งเตรียมไว้ก่อนตั้งขารังให้แน่นมั่นคง  บริเวณที่ตั้งรังควรได้รับการถางหญ้า  และวัชพืชให้เรียบร้อย  ตั้งรังบนขาให้มีความสูงจากพื้นดินประมาณ 1 ศอก  การตอกขารังผึ้งควรให้หลักคู่หน้าซึ่งเป็นด้านประตูเข้าออกของรังอยู่ต่ำจากระดับของขาตั้งรังคู่หลัง  เพื่อกันไม่ให้มีมดเข้าไปรบกวนผึ้งในรัง  และใช้น้ำมันเครื่องเก่าๆทารอบๆขาตั้ง(2)    อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีในการเลี้ยงผึ้งในระยะแรกๆ  ประกอบด้วย  ตัวกล่องรังผึ้งพร้อมคอนและแผ่นเทียม  รวมทั้งฝารังและฐานรัง  เครื่องพ่นควันสยบผึ้ง  เหล็กงัดรังผึ้ง  ชุดกันผึ้งต่อย  เช่น  หมวก  ตาข่าย  ถุงมือ  เป็นต้น  สำหรับอุปกรณ์ของกล่องหรือตัวรังผึ้งและคอนผึ้งควรจะเตรียมเผื่อไว้ให้มากกว่าจำนวนรังที่เราเริ่มเลี้ยง  เพราะเวลาจะแยกรัง  เสริมรัง  จะได้ไม่ขาดช่วงตอน  รอคอยอุปกรณ์  เพราะการเลี้ยงผึ้งจะต้องมีความต่อเนื่องและเตรียมการไว้ล่วงหน้าให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา  เพราะการเตรียมทุกอย่างให้ทันต่อเวลาเป็นหัวใจสำคัญของการเลี้ยงผึ้ง-       รังเลี้ยงผึ้งแบบไต้หวัน  เป็นลักษณะตัวรังเลี้ยงผึ้งที่ติดกันทั้งหมด  ยกเว้นฝาด้านบนที่เปิดจัดการรังผึ้งได้  ตัวรังผึ้งควรมีช่องระบายอากาศ  สามารถปิด-เปิดได้สะดวกในเวลาขนย้ายรังผึ้ง  จึงเหมาะสมสำหรับผู้เลี้ยงผึ้งที่ต้องการความสะดวกสบายในการจัดการรังผึ้ง-       คอนหรือเฟรม  เป็นที่สำหรับผึ้งสร้างรวงผึ้ง  ประกอบด้วยไม้ 4 ชิ้น  ไม้ชิ้นบนเป็นตัวคอนบนซึ่งจะวางทาบอยู่กับขอบรังที่เราบากไว้-       แผ่นฐานรวงหรือแผ่นรังเทียม  เป็นแผ่นไขผึ้งแท้ปั๊มเป็นรอยฐานหกเหลี่ยมสำหรับเป็นฐานให้ผึ้งงานได้สร้างหลอดและรวงรังผึ้งให้รวดเร็วขึ้น  ประหยัดพลังงานของผึ้ง  ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้สะดวกเป็นแบบมาตรฐาน  ปริมาณการใช้แผ่นรังเทียมขึ้นกับความต้องการของผึ้ง  ภายในเฟรมจะขึงลวดขนาดเล็กไว้ 4 เส้น  สำหรับยึดแผ่นรังเทียม  แผ่นรังเทียมเป็นส่วนที่อัดเป็นลายหกเหลี่ยมขนาดเท่ากับขนาดของฐานรังผึ้ง  เพื่อล่อให้ผึ้งสร้างหลอดรังสร้างรวงผึ้งเป็นแนวตรงและมีระเบียบ  ดอกลายของฐานรังจะต้องได้มาตรฐาน  โดยผึ้งโพรงและผึ้งพันธุ์จะมีขนาดต่างกัน  ผึ้งพันธุ์จะมีขนาดใหญ่กว่าของผึ้งโพรง  -       ขาตั้งรังผึ้ง  ประกอบด้วยไม้เนื้อแข็ง 4 ชิ้นหรือไม้ไผ่ 4 อัน  ยาวประมาณ 30-80 เซนติเมตร  ปลายด้านหนึ่งแหลมสำหรับตอกไปในดิน  มีไว้สำหรับตั้งรังผึ้ง  เนื่องจากสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง  และมีมดมาก  การตั้งรังบนพื้นดินนั้นอาจเกิดปัญหาได้  และควรทาด้วยน้ำมันเครื่องรอบขาตั้ง  สำหรับกันไม่ให้มดขึ้นไปรบกวนผึ้งในรัง-       เครื่องมือพ่นควันสยบผึ้ง  เป็นเครื่องมือสำคัญที่นักเลี้ยงผึ้งทุกคนต้องมีและนำไปใช้ทุกครั้ง  เวลาทำงานอยู่กับรังผึ้ง  วัสดุที่ใช้เผาให้เกิดควันนิยมใช้ใบไม้ใบหญ้าแห้งๆ  หรือกาบมะพร้าวแห้งก็ได้  เวลาเผาถ้ามีเปลือกส้มแห้งๆให้ใส่เข้าไปด้วย  จะทำให้ควันมีกลิ่นดีขึ้น  เนื่องจากผึ้งไม่ชอบควันที่มีกลิ่นเหม็น-       เหล็กงัดรัง  เป็นแผ่นเหล็กแบนยาวประมาณ 6-8 นิ้ว  ปลายด้านหนึ่งแบนกว้างประมาณ 1 นิ้วครึ่ง  ใช้สำหรับแซะฝารังเวลาเราเปิดรังผึ้งและใช้ขูดยางเหนียวๆที่ติดตามขอบรัง  และคอน  ตรงกลางของเหล็กงัดควรทำให้คอดลงมาเล็กน้อยให้เหมาะกับอุ้งมือ  ปลายอีกด้านหนึ่งจะงอลงประมาณ ¼ นิ้ว  ใช้สำหรับงัดแยกแต่งคอนที่ติดกันให้หลุดจากกันทำให้ยกคอนขึ้นตรวจเช็คได้ง่าย  เหล็กงัดรังนี้จะต้องถือติดอยู่ในฝ่ามือตลอดเวลาที่ทำงานตรวจรังผึ้ง-          หมวกตาข่ายสำหรับกันผึ้งต่อยหน้า  เพื่อการสวมคลุมบริเวณใบหน้า-       ถุงมือ  เป็นถุงมือที่มีขนาดความเหนียวและความหนาพอที่จะกันผึ้งต่อยบริเวณมือและนิ้ว  ทำด้วยหนังหรือผ้าที่มีความหนาพอสมควร  ถ้าหนามากเกินไปจะปฏิบัติงานยากและแยกตรวจคอนผึ้งไม่สะดวก  -       ชุดเสื้อผ้าที่สวมใส่เวลาทำงาน  ส่วนใหญ่เป็นชุดหมีสีขาวแขนยาวรัดข้อมือและข้อเท้า  ทำด้วยผ้าหนาๆกันผึ้งต่อย  หากไม่มีชุดดังกล่าว  อาจดัดแปลงใช้ชุดแขนยาว-ขายาวธรรมดา  แต่มีเนื้อผ้าหนาๆหน่อยก็พอใช้ได้  ส่วนรองเท้าเป็นรองเท้าหุ้มข้อหรือรองเท้าบู๊ทจะดีที่สุด  จะได้รวบปลายขากางเกงไว้กับรองเท้าได้  ข้อสำคัญคือต้องไม่ให้ผึ้งเข้าไปต่อยในบริเวณข้างในกางเกงได้  เพราะเวลาผึ้งต่อยบริเวณข้อเท้าจะบวมไปหลายวัน  และมีอาการเจ็บปวดมากกว่าบริเวณมือ-       อุปกรณ์สลัดน้ำผึ้งออกจากรวงรัง  ประกอบด้วย  แปรงปัดผึ้ง  ถังเหวี่ยง(สลัด)น้ำผึ้ง  มีดไฟฟ้า (อาจใช้มีดธรรมดาแช่น้ำร้อน)  ตะแกรงกรองน้ำผึ้ง  และถังเก็บน้ำผึ้ง-       อุปกรณ์อื่นๆ  อุปกรณ์ที่ควรมีตลอดเวลาในการเข้าไปปฏิบัติงานในการเลี้ยงผึ้ง  คือ  กล่องเครื่องมือต่างๆ  ที่สามารถใช้ได้ทันทีในเวลาที่ต้องการ  ในกล่องควรมีค้อน  คีม  ตะปู  เลื่อย  ลวด  มีดถากไม้  มีดพับคมๆ  มีดบาง (หรือมีดตัดโฟม)  กรรไกรเล็กๆ  กรรไกรตัดลวด  กล่องขังนางพญา  ยาหม่อง  เป็นต้น      (3)    วัสดุอื่นที่จำเป็นต้องใช้ในการเลี้ยงผึ้งพันธุ์  ในการเลี้ยงผึ้งพันธุ์นั้น  นอกจากจะมีผึ้งและอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้งที่กล่าวไว้ข้างต้น  ยังมีวัสดุอื่นๆที่ต้องเตรียมไว้ในการเลี้ยงผึ้ง  เช่น  น้ำตาลทราย  สำหรับเลี้ยงในช่วงที่น้ำหวานดอกไม้ธรรมชาติขาดแคลน  วัสดุประเภทเกสรเทียม  ยากำจัดโรคและศัตรูผึ้ง  เป็นต้น  

2 ความคิดเห็น: