วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555






พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร



เพลง


พลังงานทดแทน...พลังแห่งสายพระเนตร

ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้นำแกลบที่ได้จากการสีข้าวของโรงสีข้าวตัวอย่างจากสวนจิตรลดา มาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงดิน และนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงแท่ง จึงมีการจัดสร้างโรงบดแกลบขึ้นภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา การดำเนินงานในขั้นแรกเป็นการนำแกลบผสมปูนมาร์ลและปุ๋ยเคมี เพื่อใช้ในการปรับปรุงดิน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๓ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาจัดซื้อเครื่องอัดแกลบให้เป็นแท่ง เพื่อนใช้แทนเชื้อเพลิงชนิดอื่น รวมทั้งจำหน่ายแก่บุคคลภายนอกโครงการแกลบอัดแท่งยังคงมีการทดลองและพัฒนาขั้นตอนการผลิตตามพระราชดำริอยู่ตลอดเวลา อย่างเช่นในปี พ.ศ.๒๕๒๘ มีพระราชดำริให้ทดลองอัดแกลบผสมผักตบชวา เพื่อทดลองนำผักตบชวาที่เป็นวัชพืชตามแหล่งน้ำมาทำเป็นเชื้อเพลิงแท่ง



เศรษฐกิจพอเพียง ... หนทางสู่การพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน

"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

ความเป็นมาของโครงการในพระราชดำริ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้นได้รับการริเริ่มขึ้นตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติได้ไม่นาน โดยงานสังคมสงเคราะห์ส่วนใหญ่จะเป็นพระราชดำรัสด้านการแพทย์ที่พระราชทานความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าในระยะแรกนั้นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีลักษณะการดำเนินการศึกษาค้นคว้าและทดลองเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อเตรียมพระองค์ด้านข้อมูลและความรู้ที่จะทรงนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและเผยแพร่วิทยาการสู่เกษตรกร โดยเริ่มโครงการจากในเขตพื้นที่รอบๆ ที่ประทับในส่วนภูมิภาคก่อน จากนั้นจึงขยายขอบเขตออกไปสู่พื้นที่เกษตรกรรมที่กว้างขึ้น


 





การเลี้ยงผึ้ง




การเลี้ยงผึ้ง

วัสดุ/อุปกรณ์ คอนประกอบด้วยลังเลี้ยง ทำจากไม้เนื้อแข็งขนาด 27x45x21 ซ.ม. ที่เกาะรวงผึ้งประกอบด้วย ไม้รูปสี่เหลี่ยม ขนาด 21x24x3 ซ.ม. ภายในขึงด้วยลวด 4-5 เส้น

วิธีดำเนินการ
1. สภาพพื้นที่ต้องมีแหล่งที่มีอาหารเพียงพอ เช่น สวนมะพร้าวที่มีจั่นออกดอกตลอดปี รวมทั้งมีน้ำหวานจากไม้ผลที่ออกดอกตามฤดูกาลและจากวัชพืชต่างๆ
2.แหล่งของผึ้งที่จะนำมาเลี้ยงมาจากแหล่งต่างๆดังนี้

                                                                            
จากธรรมชาติ
 โดยการทำรังล่อไปวางไว้ในแหล่งที่มีผึ้งและเป็นที่ร่มรื่นใกล้แหล่งอาหาร ด้วยการปักเสาหลักสูงประมาณ 1 เมตร เพื่อวางรังล่อโดยทาฝารังด้านในด้วยไขผึ้งหลังจากมีผึ้งเข้ามาอาศัย จึงเคลื่อนย้ายไปยังลานเลี้ยงต่อไป
จากแหล่งเลี้ยงผึ้ง

ผึ้งที่ซื้อมาเลี้ยงควรเป็นผื้งที่มีความสมบูรณ์สูง และมีครบทุกวัยทำงาน มีปริมาณเกสรน้ำผึ้งมาก นางพญาวางไข่ดี

จับผึ้งป่ามาเลี้ยง
 1. จัดมาเลี้ยงในคอน โดยเลี้ยงในพื้นที่เดิม 2-3 วัน แล้วเคลื่อนย้ายไปสถานที่ต้องการใน เวลากลางคืน
2. การเพิ่มจำนวนของผึ้งในแต่ละรัง ต้องคัดเลือกนางพญาผึ้งให้มีการวางไข่ได้อย่างสม่ำเสมอมีการตัดแต่งรัง การรวมรัง และการขยายวงจรในการวางไข่
3. เพิ่มความแข็งแรงและความสมบูรณ์ให้กับรังด้วยการให้อาหารเสริมในช่วงที่ผึ้งขาดแคลนอาหาร บางครั้งจะต้องเคลื่อนย้ายรังไปยังแหล่งที่มีอาหารสมบูรณ์ เช่น สวนมะพร้าวหรือมะม่วงที่กำลังออกดอก
4. การเก็บน้ำผึ้งจากคอน ให้สังเกตดูที่ส่วนบนของคอน ถ้าพบว่ามีสีขาวขุ่นแสดงว่ามีน้ำผึ้งอยู่ภายใน ใช้มีดกรีดรวงผึ้งเป็นรูปตัวยูแล้วเลือกส่วนบนที่ติดกับสันคอนออก นำไปใส่ผ้ากรองที่มีถังรองรับ คอนฝึ้งที่ถูกตัดน้ำผื้งออก ให้นำกลับไปเลี้ยงตามเดิม หลังจากนั้นผึ้งก็จะสร้างรวงขึ้นมาใหม่ภายใน 1-2 เดือนค่ะ

วัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงผึ้ง
-ชุดหีบเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
-แผ่นฐานรวง
-เหล็กงัดรังผึ้ง
-กระป๋องรมควัน
-อุปกรณ์สลัดน้ำผึ้งออกจากรวง

การเก็บน้ำผึ้ง







การเก็บน้ำผึ้ง
   การเก็บน้ำผึ้งออกจากรังทำได้โดยการสลัดน้ำผึ้ง ขั้นตอนในการสลัดน้ำผึ้งออกจากรัง มีดังนี้
          ๑. ยกคอนที่มีน้ำผึ้งมากและมีตัวอ่อนของผึ้งน้อยหรือไม่มีเลย  เขย่าคอนให้ผึ้งหลุดจากคอนจนหมด
          ๒. ใช้มีดบางแช่น้ำร้อนปาดแผ่นไขผึ้งที่ปิดหลอดรวงน้ำผึ้งในคอนออกให้หมด
          ๓. นำไปใส่ในถังสลัดน้ำผึ้ง  ถ้าไม่มีถังสลัดอาจทำได้โดยนำตะแกรงลวดห่างๆ มาประกบติดคอนน้ำผึ้งทั้งสองด้านก่อนที่จะสลัด แล้วนำภาชนะที่มีขนาดโตกว่าคอนผึ้งมาไว้รองรับน้ำผึ้งยกคอนขึ้นในแนวระดับแล้วสลัดอย่างแรงให้น้ำผึ้งตกลงในภาชนะ จากนั้นนำน้ำผึ้งที่ได้ไปกรองด้วยผ้าขาวบาง ตั้งทิ้งไว้ให้ฟองอากาศลอยขึ้นแล้วจึงบรรจุใส่ขวดปิดฝาให้สนิท
 สำหรับรวงผึ้งที่สลัดน้ำผึ้งออกแล้วสามารถนำกลับไปใช้ได้อี


การคัดเลือกรังผึ้ง


          หลักในการคัดเลือกรังผึ้ง จะต้องเป็นรังผึ้งที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
          ๑. มีผึ้งนางพญาที่มีอายุน้อย มีประสิทธิภาพการวางไข่สูง และอายุการวางไข่นาน
          ๒. มีผึ้งงานที่ขยันหาอาหารทั้งน้ำหวานและเกสร
          ๓. มีผึ้งที่ไม่ดุ
          ๔. มีผึ้งที่ปรับตัวเข้าสภาพแวดล้อมได้ดีไม่หนีรังง่าย
          ๕. มีผึ้งที่มีความต้านทานต่อโรคและศัตรูได้ดี

123

123

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ผึ้ง จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด จัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูง โดยส่วนใหญ่จะออกหาอาหารเป็นน้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชในการผสมพันธุ์ ผึ้งทำงานกันเป็นระบบ มีผึ้งนางพญาเป็นหัวหน้าใหญ่
มนุษย์รู้จักผึ้งมานาน 7000 ปีแล้ว กษัตริย์ Menes ของอียิปต์โปรดให้ผึ้งเป็นสัญลักษณ์แห่งอาณาจักรของพระองค์
ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
  1. ส่วนหัว ประกอบด้วยอวัยวะรับความรู้สึกต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ
    1. ตารวม มีอยู่ 2 ตา ประกอบด้วยดวงตาเล็ก ๆ เป็นรูปหกเหลี่ยมหลายพันตา รวมกัน เชื่อมติดต่อกันเป็นแผง ทำให้ผึ้งสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้รอบทิศ
    2. ตาเดี่ยว อยู่ด้านบนส่วนหัว ระหว่างตารวมสองข้าง เป็นจุดเล็ก ๆ 3 จุด อยู่ ห่างกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งตาเดี่ยวนี้จะเป็นส่วนที่รับรู้ในเรื่องของความเข้มของแสง ทำให้ผึ้งสามารถแยกสีต่าง ๆ ของสิ่งของที่เห็นได้ ฟริช ดาร์ล ฟอน ได้ทำการศึกษาและพบว่าผึ้งสามารถเห็นสีได้ 4 สี คือ สีม่วง สีฟ้า สีฟ้าปนเขียว และสีเหลือง ส่วนช่วงแสงที่มากกว่า 700 มิลลิไมครอน ผึ้งจะมองเห็นเป็นสีดำ
    3. หนวด ประกอบข้อต่อและปล้องหนวดขนาดเท่า ๆ กันจำนวน 10 ปล้อง ประกอบเป็นเส้นหนวด ซึ่งจะทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ไวมาก
  2. ส่วนอก จะกอบด้วยปล้อง 4 ปล้อง ส่วนด้านล่างของอกปล้องแรกมีขาคู่หน้า อมปล้องกลางมีขาคู่กลางและด้านบนปล้องมีปีกคู่หน้าซึ่งมีขนาดใหญ่หนึ่งคู่ ส่วนล่างอกปล้องที่ 3 มีขาคู่ที่สามซึ่งขาหลังของผึ้งงานนี้จะมีตระกร้อเก็บละอองเกสรดอกไม้ และด้านบนจะมีปีกคู่หลังอยู่หนึ่งคู่ที่เล็กกว่าปีกหน้า
  3. ส่วนท้อง ส่วนท้องของผึ้งงานและผึ้งนางพญาเราจะเห็นภายนอกเพียง 6 ปล้อง ส่วนปล้องที่ 8-10 จะหุบเข้าไปแทรกตัวรวมกันอยู่ในปล้องที่ 7 ส่วนผึ้งตัวผู้จะเห็น 7 ปล้อง
                  รูปภาพ


ประวัติส่วนตัว

นายชานนท์ นิลสวัสดิ์

อยู่ชั้น ม3/3 เลขที่ 2

โรงเรียนมัธยมบ้านทำเนียบ

ที่อยู่ 180 ต.บ้านทำเนียบ อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราฏร์ธานี

ประวัติผู้จัดทำ

นายชานนท์ นิลสวัสดิ์

เรียนที่โรงเรียนมัธยมบ้านทำเนียบ

อยู่ชั้น ม.3/3 เลขที่ 2

ทีอยู่ 180 ม.1 ต.บ้านทำเนียบ อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฏร์ธานี



วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วงจรชีวิตของผึ้ง


                                                    วงจรชีวิตของผึ้ง


ผึ้งเป็นสัตว์สังคมที่มีการจัดระเบียบและมีความสะอาดมาก ผึ้งไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นระยะเวลานาน โดยขาดความสัมพันธ์กับผึ้งวรรณะอื่นภายในสังคมเดียวกัน ผึ้งมีระบบสังคมมาเป็นเวลานานถึงกว่า 30 ล้านปี ผึ้งแต่ละรังเปรียบเสมือนหนึ่งครอบครัว ผึ้งที่เลี้ยงเป็นอุตสาหกรรมโดยทั่วไปนิยมเลี้ยงผึ้งพันธุ์ Apis mellifera  ซึ่งประกอบด้วย ผึ้ง 3 วรรณะ คือ
ผึ้งนางพญา (The Queen)
ผึ้งนางพญาจะมีขนาดใหญ่ เป็นลักษณะเด่นที่ แยกได้ง่ายกว่าผึ้งตัวผู้ และผึ้งงาน มีลำตัวยาวกว่าผึ้งตัวผู้และผึ้งงาน ปีกของผึ้งนางพญาจะมีขนาดสั้น เมื่อเทียบกับความยาวของลำตัว ส่วนท้องของผึ้งนางพญาจะค่อนข้างเรียวยาว มีลักษณะคล้ายกับตัวต่อ ผึ้งนางพญามีการเคลื่อนไหวค่อนข้างเชื่องช้า ปกติจะมีวงจรชีวิต 1-2 ปี แต่บางตัวอาจมีอายุนานถึง 5 ปี ผึ้งนางพญาได้กินนมผึ้งตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอายุ 1 วัน และได้กินต่อไปจนตลอดชีวิต นี้เป็นจุดแตกต่างที่ผึ้งนางพญาต่างจากผึ้งงาน และผึ้งตัวผู้ มีการพัฒนาที่แตกต่างทั้งลักษณะทางกายภาพภายในภายนอกรวมไปถึงการทำหน้าที่ต่างกันด้วย ผึ้งนางพญามีหน้าที่ดังนี้
1. ผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์ เมื่อายุได้ 3-5 วัน ก็จะออกไปผสมพันธุ์ โดยจะเลือกวันที่อากาศแจ่มใส และจะผสมพันธุ์กลางอากาศ ช่วงความสูงประมาณ 50-100 ฟุต การผสมพันธุ์ 1 ครั้งต่อตัวผู้
7-10 ตัว หรือบางครั้งอาจมากถึง 20 ตัวก็ได้ โดยมีระยะเวลาผสมพันธุ์ 10-30 นาที
2. วางไข่ได้ประมาณวันละ 1,500-2,000 ฟอง สามารถวางไข่ทุกวันได้ตลอดปี
3. ผึ้งนางพญาจะไม่มีการออกหาอาหาร ผึ้งนางพญาจะถูกห้อมล้อมด้วยผึ้งงาน โดยที่ผึ้งงานจะใช้หนวดแตะหรือใช้ลิ้นเลียตามตัวผึ้งนางพญา ผึ้งงานเหล่านี้ทำหน้าที่คอยให้อาหาร ทำความสะอาดและนำของเสียที่ผึ้งนางพญาขับถ่ายออกไปทิ้ง
ผึ้งตัวผู้ (The Drone)
มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนและสั้นกว่าผึ้งนางพญา ผึ้งตัวผู้ไม่มีเหล็กใน มีลิ้นสั้นมาก  หาอาหารเองไม่ได้ แต่จะรับอาหารจากผึ้งงาน หรือ ดูดกินน้ำหวานจากในรวงเท่านั้น ผึ้งตัวผู้จะเจริญมาจากไข่ที่ไม่ได้รับการผสม เมื่อตัวอ่อนของผึ้งตัวผู้โตเต็มที่ ผึ้งงานก็จะมาปิดฝาหลอดรวงด้วยไขผึ้ง ผึ้งตัวผู้ก็จะเข้าดักแด้อยู่ภายใน เมื่อครบกำหนดก็จะกัดไขผึ้งที่ปิดฝาออกมาเป็นตัวเต็มวัย อายุประมาณ 16 วัน พร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้ ผึ้งตัวผู้มีหน้าที่ผสมพันธุ์อย่างเดียว เมื่อหมดฤดูผสมพันธุ์ ผึ้งตัวผู้ที่ยังไม่มีโอกาสผสมพันธุ์จะถูกผึ้งงานปล่อยให้อดตายด้วย เราจะพบผึ้งตัวผู้ปรากฎในรังเฉพาะช่วยฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์กับผึ้งนางพญาแล้ว ผึ้งตัวผู้จะตายทันที ปริมาณของผึ้งตัวผู้ภายในรังไม่แน่นอน อาจมีได้ตั้งแต่ศูนย์ถึงหลายพันตัวขึ้นกับฤดูกาล
ในการผสมพันธุ์พบว่า ผึ้งตัวผู้จากรังผึ้งต่าง ๆ ในปริมาณใกล้เคียงกันจะบินออกจากรังไปรวมกลุ่มกัน ณ สถานที่ซึ่งเรียกว่า ที่รวมกลุ่มของผึ้งตัวผู้ การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นภายในบริเวณนี้คือเมื่อมีผึ้งนางพญาสาวบินเข้ามาในบริเวณนี้ ผึ้งตัวผู้เป็นกลุ่มก็จะบินตอม ใช้เวลาประมาณ 3-5 วินาทีต่อผึ้งตัวผู้ 1 ตัว ในการผสมพันธุ์โดยเริ่มตั้งแต่ผึ้งตัวผู้บินติดตามนางพญาได้ทัน ก็จะใช้ขาเกาะติดกับนางพญาทางด้านหลัง แล้วก็จะออกแรงดันให้อวัยวะสืบพันธุ์ของผึ้งตัวผู้เข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของผึ้งนางพญาแล้วผึ้งตัวผู้นั้นก็จะตกลงมาตาย โดยที่อวัยวะสืบพันธุ์ยังหลุดติดคาอยู่ที่ผึ้งนางพญา ถ้าตัวผู้ตัวไหนยังไม่ได้ผสมพันธุ์ในวันนั้นจะบินกลับรัง เพื่อรอโอกาสในวันต่อไป ถ้าหมดฤดูผสมพันธุ์ผึ้งตัวผู้ที่ยังไม่ได้ผสมพันธุ์ก็มักจะถูกไล่ออกจากรัง หรือผึ้งงานจะหยุดป้อนอาหารและตายไปในที่สุด
ผึ้งงาน (The Worker)
เป็นผึ้งเพศเมีย มีขนาดเล็กที่สุด เนื่องจากในระยะที่เป็นตัวอ่อนได้รับ อาหารพิเศษ คือ  นมผึ้ง หรือ รอยัลเยลลี (royal jelly) เพียง 3 วัน หลังจากนั้นตัวอ่อนผึ้งงานที่มีอายุมากขึ้นจะได้กินแต่เกสรและน้ำผึ้ง ผึ้งงานจึงมีอายุสั้นเพียง 6-8 สัปดาห์ เท่านั้น  ผึ้งงานมีหน้าที่หลัก เช่น ทำความสะอาดรัง เลี้ยงดู ป้อนอาหารให้ผึ้งตัวอ่อน สร้างและซ่อมแซมรัง เป็นทหารเฝ้ารัง ป้องกันศัตรูและหาอาหาร ผึ้งงานต้องรับภาระดังกล่าวเท่ากันทุกตัว ไม่มีการเอาเปรียบแก่งแย่งกันหรือหลบงานเลย ทุกตัวรับผิดชอบงานของตนเองโดยไม่มีใครบังคับ ผึ้งงานจะมีอวัยวะพิเศษหลายอย่าง เพื่อที่จะปฏิบัติงานสำคัญ ๆ ภายในรังไข่ เช่น มีต่อมไขผึ้ง ตะกร้อเก็บเกสร ต่อมกลิ่น
ที่กล่าวมาข้างตนจะเห็นว่าผึ้งนั้นเป็นสัตว์ที่มีระบบการดำเนินชีวิตที่น่าสนใจมาก เป็นระบบระเบียบมีความสะอาด และมีการเลือกสรรแต่สิ่งที่ดีมีคุณค่าเท่านั้น มีการแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน  และยังมีการติดต่อสื่อสารกันภายในสังคมของผึ้ง ซึ่งเป็นผลการทำงานจาก อวัยวะพิเศษของผึ้ง ทำให้สังคมผึ้งนั้นสามารถดำรงอยู่ได้เป็น วงจรชีวิตของผึ้ง นั่นเอง

ผลิตภันจากผึ้ง

                                                                  ผลิตภันจากผึ้ง

ผึ้งเป็นแมลงที่มีประโยชน์แก่มนุษย์  ทั้งในด้านช่วยเพิ่มผลิตผลของพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะการผสมให้ผลไม้  ผลไม้ในประเทศไทยที่ผึ้งสามารถผสมเกสรได้ดี คือ ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ มะม่วง ทุเรียน ชมพู่ ส้ม และมะนาว เป็นต้นนอกจากนี้  ผึ้งยังเป็นแมลงที่ช่วยผสมเกสรพืชตระกูลแตง เช่น แตงโม แตงกวา แตงไทย โดย เฉพาะแตงน้ำผึ้ง (honey dew) หรือแตงต่างประเทศที่ราคาแพงนั้นเหมาะสมมากที่จะใช้ผึ้งช่วยผลิตเมล็ดพันธุ์ในระดับอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ของผึ้ง ที่คุณค่าทางเศรษฐกิจ ได้แก่ น้ำผึ้ง เกสร ไขผึ้ง นมผึ้ง พรอพอลิส และพิษของผึ้ง  ส่วนการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยได้ผลิตผล เพียง ๓ ชนิดเท่านั้น คือ น้ำผึ้ง เกสร และไขผึ้ง นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ได้จาก ผึ้งโพรงฝรั่งอีก คือ นมผึ้ง และพรอพอลิส

ภาพผึ้งต่างๆ